วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2558

บทที่ 3 แรงและกฏการเคลื่อนที่

3.1 แรง (Force)
ตามความหมายที่ใช้กันทั่วไป แรงคือ สิ่งที่กระทำต่อวัตถุในรูปของการพยายามดึงหรือดันที่จะทำให้วัตถุนั้นเคลื่อนที่ และเมื่อมีแรงมากระทำต่อวัตถุ วัตถุจะเคลื่อนที่หรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้อาจเพราะมีแรงอื่นกระทำต่อวัตถุด้วย เช่น ถ้าวัตถุวางบนพื้น แรงเสียดทานระหว่างพื้นกับวัตถุก็จะกระทำต่อวัตถุด้วย หากแรงที่กระทำต่อวัตถุไม่มากพอที่จะเอาชนะแรงเสียดทานวัตถุก็จะไม่เคลื่อนที่ หรือกรณีการออกแรงกระทำต่อวัตถุที่ยึดไว้อย่างแข็งแรง เช่น เสา หรือกำแพง เสาหรือกำแพงย่อมไม่เคลื่อนที่ เพราะแรงจากส่วนอื่นกระทำต่อวัตถุด้วย สำหรับวัตถุที่ อ่านเพิ่มเติม
บทที่ 2 การเคลื่อนที่แนวตรง

ตำแหน่งและการกระจัด
ตำแหน่ง (position) ก็คือการแสดงออก หรือการบอกให้ทราบว่า วัตถุหรือสิ่งของที่พิจารณาอยู่ที่ใด เราจะคิดถึงวัตถุที่มีขนาดเล็กก่อน ซึ่งจะสามารถบอกได้ชัดเจนว่ามีตำแหน่งอยู่ที่ใด โดยเฉเพาะบนเส้นตรงเส้นหนึ่งเมื่อเทียบกับจุดอ้างอิง จุดอ้างอิงเป็นปัจจัยจำเป็นเพื่อความชัดเจน อาจจะเป็นจุดศูนย์ของโคออติเตในพิกัด xy เนื่องจากเราจะพิจารณากรณีหนึ่งมิติก่อน เราจะใช้เฉเพาะแกน x และอาจบอกว่าวัตถุของเราอยู่ที่ตำแหน่ง ที่เวลา อันหมายถึงวัตถุที่ระยะทาง จากจุด O (จุดอ้างอิง) ที่เวลาดังกล่าว ถ้าวัตถุเลื่อนไปอยู่ที่ ที่เวลา แสดงว่า วัตถุ อ่านเพิ่มเติม
บทที่ 1 บทนำ

ฟิสิกส์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ฟิสิกส์ (physics) มาจากภาษากรีก ที่มีความหมายว่า “ธรรมชาติ” (nature) ดังนั้นฟิสิกส์จึงควรจะหมายถึง เรื่องราวที่เกี่ยวกับปรากฎการณ์ธรรมชาติทั้งหลาย และมีความหมายเช่นนั้นในสมัยก่อน ซึ่งบางครั้งอาจเรียกว่า “ ปรัชญาธรรมชาติ ” (natural science) ปัจจุบันความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติได้ขยายขึ้นอย่างมากทั้งในเชิงรายละเอียดและสาขาของความรู้ โดยเฉเพาะความรู้ความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์จึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิทยาศาสตร์ อ่านเพิ่มเติม